สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 ตุลาคม 2564

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1) ด้านการผลิต
1.1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุมค่าเช่าที่นา
1.2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
1.3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
1.4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
1.5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
1.6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
1.7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
2) ด้านการตลาด
2.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
2.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
2.3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
2.4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2.5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2.6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,643 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,680 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,678 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,605 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.65
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,190 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 703 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,328 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 138 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,318 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,406 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 88 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,318 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,406 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 88 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1288 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
     2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2564/65 ณ เดือนตุลาคม 2564ผลผลิต 510.695 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 506.444 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2563/64 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.84
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2564/65 ณ เดือน
ตุลาคม 2564 มีปริมาณผลผลิต 510.695 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2563/64 ร้อยละ 0.84 การใช้ในประเทศ 512.309 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2563/64 ร้อยละ 1.86 การส่งออก/นำเข้า 48.749 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก
ปี 2563/64 ร้อยละ 0.53 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 183.628 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2563/64 ร้อยละ 0.87
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล เมียนมา กัมพูชา จีน อียู ปากีสถาน ปารากวัย ไทย ตุรกี อุรุกวัย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา อินเดีย และสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไอเวอรี่โคสต์ อียิปต์ เอธิโอเปีย อียู อิหร่าน อิรัก เคนย่า
มาดากัสกา โมแซมบิค เนปาล ไนจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บังกลาเทศ บราซิล ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล และแอฟริกาใต้
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย ส่วนประเทศ
ที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
     2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
            ฟิลิปปินส์
          สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา รายงานว่า ตามรายงาน Grain and Feed ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ฉบับล่าสุด ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ในปีการตลาด 2564/2565 เป็น 2.2 ล้านตัน จากเดิมที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะมีปริมาณนำเข้าที่ 2.1 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าสภาพเศรษฐกิจ
จะดีขึ้นแม้ว่าจะยังคงมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงได้รับปัจจัยหนุนจากการออกใบรับรองนำเข้าสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPSIC) สำหรับการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์(DA) โดยสำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) มีการออกใบอนุญาต SPSIC รวม 885 ฉบับ คิดเป็นปริมาณข้าวนำเข้า 642,811 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการออกใบอนุญาต SPSIC เพียง 379 ฉบับ คิดเป็นปริมาณข้าว 273,643 ตัน
          ทั้งนี้ ปีการตลาด (Marketing Year) หมายถึงช่วงระยะเวลา 12 เดือนเมื่อเริ่มทำการเก็บเกี่ยวและเมื่อผลผลิต
เริ่มออกสู่ตลาด โดยปีการตลาดในฟิลิปปินส์สำหรับการนำเข้าข้าวจะเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม
          สำหรับปี 2563/2564 USDA ได้ปรับลดการคาดการณ์ปริมาณการนำเข้าของฟิลิปปินส์จากเดิม 2.1 ล้านตัน เหลือ 2 ล้านตัน และได้คงตัวเลขการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตข้าวของฟิลิปปินส์ ในปี 2564/2565 อยู่ที่ 12.30 ล้านตัน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564/2565 พบว่า ผลผลิตข้าวมีปริมาณไม่แตกต่างกันมากนักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปี 2563/2564
          นอกจากนี้ USDA ยังได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนนโยบายในการลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไป (MFN) ชั่วคราวสำหรับสินค้าข้าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์ว่า จะมีผลต่อซัพพลายเออร์ในซีกโลกตะวันตกน้อยกว่าผู้ส่งออกข้าว
นอกอาเซียนรายอื่นในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น
          ในส่วนของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ได้คาดการณ์การนำเข้าข้าวในปีนี้จะมีปริมาณถึง 2.085 ล้านตัน
ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มอุปทานข้าวล่าสุด โดยในช่วงครึ่งปีแรกคาดว่าปริมาณนำเข้าจะมีประมาณ 1.296 ล้านตัน แบ่งเป็น 608,000 ตันในไตรมาสแรก และ 688,000 ตันในไตรมาสที่ 2 ในขณะที่ไตรมาสที่ 3 และ 4 จะมีปริมาณการนำเข้า 631,000 ตัน และ 158,000 ตัน ตามลำดับ
          อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นาย William Dar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ได้เรียกร้องให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Government Units: LGUs) โดยเฉพาะหน่วยงานในจังหวัดชั้นนำที่เป็นแหล่งผลิตข้าวให้ช่วยรัฐบาลกลางรับซื้อข้าวเปลือกโดยตรงจากเกษตรกรชาวนา เพื่อเพิ่มราคาข้าวเปลือกในช่วงฤดูเพาะปลูกหลัก โดยการเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นหลังมีรายงานว่าราคาข้าวเปลือกในบางพื้นที่ของประเทศลดลงต่ำกว่าต้นทุนการผลิต โดยจากผลการสำรวจของสหพันธ์เกษตรกรอิสระ (FFF) พบว่า ราคาข้าวเปลือกในบางพื้นที่ เช่น Pangasinan, Tarlac, Mindoro Occidental, Negros Occidental, Zamboanga Sibugay, Davao del Norte และ South Cotabato ลดลงเหลือเพียง 12-15 เปโซต่อกิโลกรัม
          ทั้งนี้ นาย Leonardo Montemayor ประธานคณะกรรมการ FFF กล่าวว่า ราคาข้าวเปลือกมีแนวโน้มที่จะ
ลดลงอีกเมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จึงเรียกร้องให้รัฐบาลจำกัดการนำเข้าข้าวชั่วคราวในช่วงที่ยังคงมีการเก็บเกี่ยวภายในประเทศ เนื่องจากต้นทุนการผลิตข้าวเปลือกในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12.41 เปโซต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าต้นทุนการผลิตข้าวในประเทศเวียดนามซึ่งอยู่ที่ประมาณ 6.22 เปโซต่อกิโลกรัม และประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ประมาณ 8.86 เปโซต่อกิโลกรัม
          หลังจากฟิลิปปินส์ได้ประกาศใช้กฎหมายเปิดเสรีนำเข้าข้าวในปี 2562 ได้ส่งผลให้กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยในปี 2562 ฟิลิปปินส์มีปริมาณนำเข้าข้าวอยู่ที่ 2.9 ล้านตัน แซงหน้าจีนที่เคยเป็นผู้นำเข้าข้าว
รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายเปิดเสรีนำเข้าข้าวดังกล่าวเพื่อให้สามารถนำเข้าข้าวได้มากขึ้นและเพื่อให้ราคาข้าวในประเทศลดลง นอกจากนี้ แนวโน้มการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 4 เท่า
          ทั้งนี้ แนวโน้มการนำเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวยังช่วยให้รัฐบาลฟิลิปปินส์สามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีนำเข้าข้าวได้เป็นจำนวนมาก และภายใต้กฎหมายเปิดเสรีนำเข้าข้าวกำหนดให้มีการนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้ จัดสรรเข้ากองทุนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศ (RCEF) ปีละ 1 หมื่นล้านเปโซ เพื่อช่วยเหลือชาวนาในการเพิ่มผลผลิตข้าว รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
          โดยในปี 2562 กรมศุลกากรฟิลิปปินส์สามารถจัดเก็บภาษีนำเข้าข้าวมูลค่าถึง 1.231 หมื่นล้านเปโซ และ
ในปี 2563 สามารถจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.549 หมื่นล้านเปโซ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.83 จากปี 2562 โดยแนวโน้มการจัดเก็บภาษีนำเข้าข้าวของกรมศุลกากรฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มปริมาณนำเข้าข้าวที่จะเพิ่มสูงขึ้น
          ที่มา Oryza.com สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
          จีน
          สำนักข่าวซินหัวของจีน รายงานว่า ข้าวลูกผสมรุ่นที่ 3 ซึ่งพัฒนาโดยศาสตราจารย์หยวนหลงผิง "บิดาแห่งข้าวลูกผสมของจีน" (Yuan Longping, the "father of hybrid rice") และทีมงาน สามารถทำสถิติปริมาณผลผลิตข้าวครั้งใหม่อยู่ที่ 1,603.9 กิโลกรัมต่อหมู่ (ประมาณ 0.4 ไร่/667 ตารางเมตร) ณ แปลงปลูกในหมู่บ้านชิงจู๋ เมืองเหิงหยาง (Qingzhu Village, Hengyang City) มณฑลหูหนาน (Hunan Province) ทางตอนกลางของจีน หนึ่งในแปลงนาทดลองปลูกข้าวลูกผสม
          มณฑลหูหนาน เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจีน เกษตรกรในมณฑลนี้นิยมปลูกข้าวแบบปลูก 2 รอบ (double-cropping rice) โดยในบรรดาผลผลิตข้าวลูกผสมรุ่นที่ 3 ที่แปลงทดสอบข้าวต้นฤดู (early rice) ให้ผลผลิตประมาณ 667.8 กิโลกรัมต่อหมู่ ส่วนข้าวปลายฤดู (late-season rice) ให้ผลผลิตประมาณ 936.1 กิโลกรัมต่อหมู่ ทำให้
ผลผลิตรวมทั้งหมดมีจำนวน 1,603.9 กิโลกรัมต่อหมู่ ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นสถิติใหม่ทำลายสถิติปีที่แล้วที่มีผลผลิตรวม 1,530.76 กิโลกรัม ซึ่งทำให้ข้าวดังกล่าวกลายเป็นข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดในโลก
          พันธุ์ข้าวดังกล่าว ได้รับการพัฒนาโดยศาสตราจารย์หยวนหลงผิง สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ปีละ 2 ครั้ง (double-cropping rice) ได้แก่ (1) เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม และ (2) เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน ซึ่งการวิจัยพบว่า การปลูกข้าวในแปลงนา ปีละ 2 ครั้ง แม้ได้รับผลผลิตต่อครั้งน้อยกว่าการปลูกเพียงปีละ 1 ครั้ง แต่ผลผลิตต่อปีโดยรวมแล้วมีปริมาณมากกว่า
          รายงานระบุว่า เมื่อปี 2563 พันธุ์ข้าวลูกผสมดังกล่าวให้ผลผลิตในระบบการปลูกแบบ 2 รอบ รวมประมาณ 1,530.76 กิโลกรัมต่อหมู่ต่อปี ในแปลงเดียวกัน
          นายหลี่เสริมว่า ข้าวลูกผสมรุ่นที่ 3 ให้ผลผลิตสูงแม้เผชิญสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยจากอุณหภูมิที่พุ่งสูงต่อเนื่อง
ซึ่งบ่งชี้ว่าพันธุ์ข้าวดังกล่าวมีการปรับตัวแข็งแกร่ง และปูทางสำหรับการส่งเสริมข้าวสายพันธุ์นี้ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ศาสตราจารย์หยวนหลงผิงประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงสายพันธุ์แรกของโลกเมื่อปี 2516 ต่อมาข้าวลูกผสมสายพันธุ์นี้ถูกนำไปเพาะปลูกอย่างกว้างขวางในประเทศจีนและหลายประเทศ ปัจจุบัน จีนได้เพาะปลูกข้าวลูกผสมรวมพื้นที่ทั้งสิ้น 100 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 57 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมด ช่วยให้ประชากรมีข้าวกิน มากกว่า 80 ล้านคนต่อปี หมายเหตุ (หมู่ (mu/亩) หน่วยวัดจีน 1 หมู่ เท่ากับ 166.5 ตารางวา หรือ 0.416667 ไร่)
          ที่มา China Xinhua News และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.39 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.64 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.16 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.78
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 324.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,725.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 328.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,884.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 159.00 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2564/65 มีปริมาณ 1,186.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,131.61 ล้านตัน ในปี 2563/64 ร้อยละ 4.85 โดยสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา บราซิล จีน อินเดีย รัสเซีย แคนาดา สหภาพยุโรป อินเดีย ไนจีเรีย เม็กซิโก  ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 190.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 182.78 ล้านตัน ในปี 2563/64 ร้อยละ 4.45 โดยอาร์เจนตินา บราซิล สหภาพยุโรป รัสเซีย ปารากวัย แอฟริกาใต้ และยูเครน ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น แอลจีเรีย อิสราเอล บราซิล แคนนาดา ชิลี โคลัมเบีย อียิปต์ เวียดนาม สหภาพยุโรป กัวเตมาลา ญี่ปุ่น เม็กซิโก โมร็อกโก เปรูซาอุดีอาระเบีย และตุรกีมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 534.00 เซนต์ (7,064.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล 522.00 เซนต์ (6,906.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.30 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 158.00 บาท

 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.507 ล้านไร่ ผลผลิต 31.632 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.327 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.60 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 2.31 ตามลำดับ โดยเดือนตุลาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.59 ล้านตัน (ร้อยละ 4.75 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.03 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.15 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.49
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.34 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.38 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.35 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,282 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,296 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,836 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (15,862 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.333 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.240 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.119 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.201 ล้านตันของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 19.12 และร้อยละ 19.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 8.35 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 8.07 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.47   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 43.38 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 41.50 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.53 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียในวันที่ 22 ต.ค. 64 ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 คาดว่าเกิดจากมาตรการกวดขันที่เพิ่มขึ้นของจีนและอินเดียในกิจกรรมการเก็งกำไรที่เกิดขึ้นในตลาด สัญญาซื้อขาย FCPO3 เดือนมกราคม ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย ลดลงร้อยละ 1.45 ไปอยู่ที่ตันละ 4,896 ริงกิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,233.23 ดอลลาร์มาเลเซีย (42.58 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 5,155.21 ดอลลาร์มาเลเซีย (41.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.51               
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,407.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (47.25 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,390.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (46.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.26        
หมายเหตุ :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
           ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - ราคาน้ำตาลทรายดิบเดือนมีนาคมตกลงต่ำสุดในรอบ  1  ปีเมื่อวันที่  19 ตุลาคมที่ผ่านมาเป็นผลมาจากแรงขายจากกองทุนและแรงซื้อที่มีจำกัด ทางด้าน Safras & Mecado คาดว่าราคา จะยังสามารถลงได้อีกเนื่องจากผลผลิตน้ำตาล 36 ล้านตันจากอินเดีย และ 12 ล้านตันจากไทย นั้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และปริมาณอ้อยภาคกลาง-ใต้บราซิลจะฟื้นตัวถึง 540 ล้านตัน ในปี 2565/2566
          - ตัวแทนชาวไร่ในรัฐมหาราษฏระ ได้เรียกร้องให้โรงงานน้ำตาลขึ้นค่าอ้อยเป็น 400 รูปี/100 กก.
(5.3 ดอลลาร์สหรัฐ/100 กก.) เนื่องจากราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น และยังกล่าวว่าราคาเอทานอลควรเพิ่มขึ้นเป็น 10 รูปีต่อลิตร (0.13 ดอลลาร์สหรัฐ/ลิตร) ขณะที่เจ้าหน้าที่จาก DCM Shriram กล่าวว่าราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจะสามารถช่วยเรื่องราคาอ้อยได้ ทั้งนี้ รัฐมนตรีมหาดไทยได้สัญญาว่าจะช่วยเรื่องภาษีของโรงงานน้ำตาลในรัฐรัฐมหาราษฏระที่จ่ายราคาอ้อยสูงกว่าราคาที่รัฐแนะน้า



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.88 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,227.84 เซนต์ (15.14 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,209.08 เซนต์ (14.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 324.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 315.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.81
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 62.63 เซนต์ (46.34 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 59.90 เซนต์ (44.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.56


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.46 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 967.50 ดอลลาร์สหรัฐ (32.05 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 964.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 906.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 903.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,301.75 ดอลลาร์สหรัฐ (43.13 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,297.75 ดอลลาร์สหรัฐ (43.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 754.25 ดอลลาร์สหรัฐ (24.99 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 751.75 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,082.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.87 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 1,079.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.44 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.66 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.85
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.07


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
     ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 108.00 เซนต์ (กิโลกรัมละ 79.93 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 106.89 เซนต์ (กิโลกรัมละ 79.20 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.04 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.73 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,743 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1,755 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,473 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1,518 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,006 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  68.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.72  คิดเป็นร้อยละ 2.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.82 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.94 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,900 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,700 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดยังคงสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.02 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 30.73 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.80 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 7.50 สูงขึ้นจากตัวละ 6.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 15.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 286 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 289 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.99 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 308 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 281 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 2.95 บาท ลดลงจากเฉลี่ยร้อยฟองละ 3.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 354 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 368 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 330 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.44 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.60 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.13 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.83 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.83 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.30 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 ตุลาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.14 บาท ราคาค่อนข้างทรงตัวจากกิโลกรัมละ 128.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา